วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

1.บทเรียนสําเร็จรูป
http://www.kbyala.ac.th/web-subject/web-tec/pen/CAI/index.htm



2.ชุดการสอน(Instructional Package)
ชุดการสอน
คือ ชุดของสื่อประสมที่จัดไว้เป็นกล่องหรือซองตามลักษณะของเนื้อหาวิชา เพื่อรวบรวมเอาสาระและประสบการณ์ต่างๆ สำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีที่ก่อให้ก่อให้เกิดชุดการสอน
จากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางการศึกษาหลาย ๆ ด้าน เช่นเรื่องแนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ความพร้อม อัตราเพิ่มของประชากร ทำให้การจัดการสื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ประเภทของชุดการสอน
1.ชุดการสอนประกอบการบรรยาย
2.ชุดการสอนแบบกลุ่มเล็กหรือชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
3.ชุดการสอนรายบุคคล
ประโยชน์ของชุดการสอน
1.เร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนมีส่วนร่าวในกิจกรรมการเรียน
2.เรียนได้ตามความสามารถและความพอใจ
3.การเรียนรู้เป็นอิสระจากอารมณ์ของครู
4.ขจัดปัญหาในการขาดแคลนครู
5.สนับสนุนการศึกษานอกระบบ
6.แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล
7.เป็นประโยชน์กับศูนย์การเรียน
8.ผู้เรียนสามารถรับทราบความสารถของตน





3. ศูนย์การเรียน (Learning Center)
เป็นสถานที่ที่จัดบรรยากาศและประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง
ประเภทของศูนย์การเรียน
1. ศูนย์การเรียนในห้องเรียน เป็นการจัดศูนย์การเรียนอย่างง่าย โดยทำเป็นศูนย์วิชาการต่างๆ
2. ศูนย์การเรียนเอกเทศ เป็นการจัดศูนย์การเรียนที่แยกเป็นอิสระจากห้องเรียน
ขั้นตอนการเรียนในศูนย์การเรียน
1. ทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้เดิมของผู้เรียน
2. นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
3. ดำเนินกิจกรรมการเรียน โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน
4. สรุปบทเรียน อภิปราย สักถาม หรือ วิธี อื่นๆ
5. ประเมินผลการเรียน โดยทำแบบทดสอบหลังเรียน
ประโยชน์ของศูนย์การเรียน
1.สร้างบรรยากาศในห้องเรียน เพิ่มความสนใจของผู้เรียน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตัวเอง
3. ส่งเสริมเสรีในการแสดงความคิดเห็น
4. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ
5. ครูได้ใกล้ชิดกับนักเรียน
6. ครูตื่นตัวตลอดเวลาการค้นคว้า หากิจกรรมและสื่อการสอน
7. ห้องเรียนมีระเบียบ
8. เหมาะสำหรับการเรียนการสอนทุกระดับ
9. ใช้สอนผู้เรียนได้เป็นจำนวนมาก




4. การสอนแบบจุลภาค
เป็นการสอนในสถานะการณ์ของห้องเรียนจริง
หลักการเกี่ยวข้องกับการสอนจุลภาค
1. การเสริมแรง เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เห็นพฤติกรรมของตัวเอง
2.การรับรู้ผลป้อนกลับ ในการสอนแบบจุลภาค ผู้สอนจะได้รับทราบผลการสอนของเขาเองจากหลายๆทาง3. การฝึกซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นสิ่งจำเป็นในการสอนแบบจุลภาคเพราะจะทำให้ผู้สอนเกิดความชำนาญและนำไปใช้จริงได้ง่ายๆ
4. การถ่ายโยงการเรียนรู้ เนื่องจากสอนแบบจุลภาคเป็นการสอนในสถานการณ์จริง
4.1 ขั้นศึกษาทักษะที่ต้องการฝึก
4.2 ขั้นเลือกเนื้อหาและวางแผนการสอน
4.3 ขั้นสอน
4.4 ขั้นวิเคราะห์ผลการสอน
4.5 ขั้นตัดสินใจ
4.6 ขั้นทดลองกับนักเรียนกลุ่มอื่นๆ
ทักษะการสอนแบบจุลภาค
เป็นทักษะที่มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพในการสอนของครู ทั้งลักษณะที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง และนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
1. ทักษะสำหรับครูเป็นศูนย์กลาง
1.1 ทักษะการนำสู่การเรียน
1.2 ทักษะการใช้สื่อการสอน
1.3 ทักษะการใช้คำถาม
1.4 ทักษะการอธิบาย
1.5 ทักษะการเล่าเรื่อง
1.6 ทักษะการยกตัวอย่าง
1.7 ทักษะการใช้กระดานชอล์ค
1.8 ทักษะการเร้าความสนใจ
1.9 ทักษะเสริมกำลังใจ
1.10 ทักษะการสรุปบทเรียน
2. ทักษะสำหรับผู้เรียนเป็นศูยน์กลาง
2.1 ทักษะการสอนแบบศูนย์การเรียน
2.2 ทักษะการสอนให้ผู้เรียนทำงานตามลำพัง
ประโยชน์ของการสอนแบบจุลภาค
1. ใช้ในการทดลองสอนและปรับปรุงวิธีการสอน
2. ใช้ทดลองสอนเพื่อปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร
3. ใช้ฝึกทักษะและสมรรถภาพในการสอนให้กับครูและนักเรียน
4. ช่วยให้อาจารย์นิเทศนก์ปรับปรุงวิธีสอนของตนเอง
5. เปิดโอกาสให้ผู้สอนได้ทดลองสอนจนพอใจ
6. ลดความยุ่งยากสบสนและความกังวลของผู้สอนในชั้นเรียนจริง
ข้อจำกัดของการสอนแบบจุลภาค
1. ผู้ฝึกไม่พบกับสภาพห้องเรียนจริง ซึ่งอาจทำให้สอนไม่เต็มที่ ถ้าเขาไม่มีความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้
2. การสอนแบบจุลภาคใช้ประกอบการฝึกสอน แต่ไม่ใช้แทนการฝึกสอน เพราะการสอนแบบจุลภาคเน้นการฝึกทักษะเฉพาะอย่าง ให้เกิดความชำนาญก่อนออกฝึกสอนจริง




5.การสอนเป็นคณะ(Team Teaching)
การสอนเป็นคณะเป็นวิธีการแบบใหม่ เน้นการใช้บุคลากรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นโดยจัดให้ครูตั้งแต่งสองคนขึ้นไปร่วมกันว่างแผน จัดกิจกรรมการสอน ประเมินผล และร่วมกันรับผิดชอบ
ความมุ่งหมายของการสอนเป็นคณะ
1.ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสอน
2.ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย
3.ใช้เวลาทั้งหมดของครูให้ผูกผันกับการสอนและการจัดประสบการ
4.แก้ปัญหาในการไม่ยุติธรรมในการจัดชั่วโมงสอนของครู
5.ส่งเสริมกิจการด้านฝึกหัดครู
6.ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้กับนักเรียน
รูปแบบของการสอนเป็นคณะ
1.แบบมีผู้นำคณะ
2.แบบไม่มีผู้นำคณะ
3.แบบครูพี่เลี้ยง
วิธีดำเนินการสอน
1.การสอนเป็นกลุ่มใหญ่ ประมาณ 50-200 คน
2.การสอนเป็นกลุ่มเล็ก ไม่เกิน 15 คน
3.การค้นคว้าด้วยตนเอง
ประโยชน์ของการเรียน
1.ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2.ครูใช้ความถนัดและความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่
3.นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
4.ครูให้มีโอกาสได้ฝึกงานให้เกิดความชำนาญ
5.ความต่อเนื่องของการเรียนการสอนมีมากขึ้น
ข้อจำกัดของการสอนเป็นคณะ
1.ต้องเสียเวลาในการเตรียมงานมาก
2.จากการวิจัยจะพบว่าการสอนจะได้ผลดีที่สุดเมื่อสอนในห้องเรียนที่จัดเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
3.ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและความร่วมมือของครู
4.มีปัญหาในเรื่องการจัดตารางสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น